วัดไทยอชันต้าเอลโลร่า
ที่หน้าวัด เข้าสู่วัด วัตถุประสงค์ในการสร้างวัด ร่วมสร้างมหากุศลครั้งยิ่งใหญ่ในแดนดินถิ่นสุวรรณภูมิ บุคคลากร และกัลยาณมิตรธรรม วีดีโอ ออนยูทูป ติดต่อเรา....

























ทำไมจึงเลือกสร้างวัดไทยที่เมืองออรังกาบัด ประเทศอินเดีย
#เพราะเมืองนี้มีถ้ำอชันต้ามรดกโลกของชาวพุทธ
#ที่ครั้งหนึ่งในชีวิตชาวพุทธต้องไปเยือนนอกเหนือจากสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
ถ้ำอชันตา (Ajanta Caves) เมืองออรังกาบาด รัฐมหาราษฎร์ ประเทศอินเดีย...ได้ชื่อว่าเป็น วัดถ้ำในพุทธศาสนาที่งดงามและเก่าแก่ที่สุดในโลก สร้างเมื่อ พ.ศ.๓๕๐
โดยพระภิกษุในสมัยนั้นได้ค้นพบสถานที่แห่งนี้ เห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรมกรรมฐานเป็นอย่างยิ่ง จึงได้เจาะภูเขาเพื่อสร้างเป็นกุฏิ โบสถ์ วิหาร ฯลฯ เพื่ออาศัยอยู่อย่างสันโดษ เนื่องจากเป็นสถานที่ห่างไกลผู้คน ทำให้ประวัติศาสตร์หน้าต่อมาของ ศาสนาพุทธในอินเดีย ได้ปรากฏขึ้นในหมู่ถ้ำบริเวณฝั่งตะวันตกของที่ราบสูงเดกกัน เมืองออรังกาบาด รัฐมหาราษฎร์ แห่งนี้
ต่อมาเรื่องราวของ ถ้ำอชันตา ได้หายเงียบไป กลายเป็นถ้ำร้างที่ถูกปกคลุมด้วยเถาวัลย์และต้นไม้ปิดปากถ้ำ...
จนถึง พ.ศ.๒๓๖๒ จอห์น สมิธ นายทหารชาวอังกฤษได้เข้าป่าเพื่อล่าสัตว์ จนมาถึงบริเวณเทือกเขาแห่งหนึ่งบริเวณหมู่บ้านอชันตา และได้ค้นพบถ้ำแห่งนี้ด้วยความบังเอิญ
ถ้ำเหล่านี้ถูกเจาะลึกเข้าไปในภูเขาเพื่อสร้างเป็นวัด มีวิหารขนาดใหญ่ ภายในเต็มไปด้วยงานแกะสลักหิน เป็นองค์เจดีย์ เป็นพระพุทธรูป และภาพจิตรกรรมฝาผนังถ้ำ
เล่าเรื่องราวต่างๆ ในพุทธประวัติและชาดก และที่น่าแปลกใจ คือ ถ้ำเหล่านี้ซุกซ่อนตัวอยู่ที่นี่มานานถึงกว่า ๑,๕๐๐ ปี โดยไม่ถูกรุกล้ำจากผู้คนทั้งหลาย นับตั้งแต่จากวันที่ถูกทอดทิ้งให้รกร้างตลอดมา
การค้นพบ หมู่ถ้ำอชันตา ในครั้งนั้นทำให้โลกต้องตื่นตะลึงกับความมหัศจรรย์ของศิลปะภายในวัดถ้ำ ที่ไม่มีใครเคยพบเห็น หรือรู้เรื่องมาก่อน ขณะเดียวกันก็ทำให้นักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี สามารถปะติดปะต่อเรื่องราวของ ศาสนาพุทธ ในอินเดียได้อย่างชัดเจนเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น ด้วยการศึกษาจากภาพแกะสลักหินภายในถ้ำ ที่ยังคงอยู่อย่างสมบูรณ์ ไม่ผุกร่อนพังทลายไปเหมือนพุทธสถานอื่นๆ เพราะทุกอย่างที่นี่ สลักขึ้นจากภูเขาทั้งลูก นับเป็นสิ่งแปลกประหลาดมหัศจรรย์ที่สุดในโลกก็ว่าได้
ถ้ำเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ เป็นวัด เป็นวิหาร โดยใช้วิธีเจาะภูเขาทั้งลูกเข้าไป บางถ้ำมีถึง ๓ ชั้น มีทางเดินเชื่อมถึงกันตลอด
ถ้ำที่ก่อสร้างในยุคแรกๆ เป็น วัดถ้ำของพุทธฝ่ายเถรวาท พระสงฆ์ในยุคนั้นได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยอย่างเรียบง่าย โดยเจาะหินเข้าไปเป็นห้องโถง เปิดโล่ง
ใช้เป็นที่นั่งสนทนาธรรม ส่วนผนังทั้งสามด้านก็สกัดหิน เจาะเข้าไปเป็นห้องนอน ภายในมีเตียงหิน ห้องละ ๒ หลัง
วัดของพุทธฝ่ายเถรวาท หลายถ้ำสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นห้องบูชา ด้วยฝีมือการแกะสลักของช่างในยุคนั้น โดยได้สกัดหินจากด้านนอกเข้าไป และสกัดจากเพดานถ้ำลงมา
จนได้ห้องโถงขนาดใหญ่ มีระเบียงทางเดินอยู่ด้านข้าง มีเจดีย์อยู่ในสุดของห้อง
มีการสร้าง พระสถูปเจดีย์ ไว้เพื่อสักการบูชาแทนองค์พระพุทธเจ้า เป็นธรรมเนียมปฏิบัติเช่นเดียวกับการสร้าง พระสถูปเจดีย์ ที่สืบทอดมาจากชาวพุทธทางอินเดียตอนเหนือ...
ด้วยเหตุนี้ ถ้ำอชันตา ในยุคแรกจึงยังไม่มีการแกะสลักเป็นองค์ พระพุทธรูป ให้พบเห็นมาก่อนหน้านี้
ถ้ำหมายเลข ๑๐ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในหมู่ถ้ำอชันตา สร้างเป็น หอสวดมนต์บูชาพระเจดีย์ เมื่อครั้งที่ "จอห์น สมิธ" ได้เข้าไปพบเห็นเป็นครั้งแรก ตอนที่เข้าไปในในถ้ำนั้น
ดินโคลนได้ทับถมสูงขึ้นไปจากพื้นถ้ำกว่าครึ่ง
"จอห์น สมิธ" ได้จารึกชื่อไว้บนเสาหิน พร้อมลงวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๓๖๒ ซึ่งเป็นวันที่ ถ้ำอชันตา ได้ปรากฏสู่สายตาชาวโลก
นอกจากนี้ยังมีรอยจารึกสำคัญที่พบในถ้ำเดียวกันนี้ ได้ระบุชื่อของกษัตริย์พระองค์หนึ่งในราชวงศ์สาตวาหนะ ทำให้นักประวัติศาสตร์ได้รู้ว่า
วัดถ้ำที่อชันตาได้รับการอุปถัมภ์อย่างต่อเนื่องจากพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่การสร้างวัดถ้ำในยุคแรกๆ
ลักษณะของหมู่วัดถ้ำอชันตา นั้นพบว่ามีถ้ำมากกว่า ๓๐ ถ้ำ เรียงตัวต่อเนื่องกันยาวหลายร้อยเมตร บนเชิงเขาสูง ลักษณะเป็นวงโค้งรูปพระจันทร์เสี้ยว
บริเวณหน้าถ้ำแต่ละแห่งสร้างเป็นบันไดทอดยาวลงไปยังแม่น้ำสายเล็กๆ ที่ไหลลดเลี้ยวไปตามหุบเขาเบื้องล่าง แม่น้ำสายนี้คือ "แม่น้ำวโฆระ" ซึ่งจะมีระดับน้ำขึ้นสูงในช่วงฤดูฝน
ถ้ำพุทธฝ่ายเถรวาท ที่ "อชันตา" เจริญรุ่งเรืองอยู่ต่อมาอีกราว ๒๐๐ ปี จนถึง พ.ศ.๕๕๐ ก็หยุดชะงัก ไม่ปรากฏร่องรอยการสร้างวัดถ้ำของพุทธฝ่ายเถรวาทที่นี่อีกต่อไป นานถึง ๔๐๐ ปี จึงกลับมาสร้างต่ออีกครั้งในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐
แม้จะยังไม่มีคำตอบว่าเกิดอะไรขึ้นกับพุทธสถานที่ถ้ำอชันตาในช่วง ๔๐๐ ปี ที่เว้นว่างไป แต่ในช่วงเวลานั้นเองก็ได้เกิดความเคลื่อนไหว
สำคัญที่พลิกโฉมศาสนาพุทธในอินเดียไปอย่างสิ้นเชิง
สิ่งแรก คือ การเกิดขึ้นของ พระพุทธรูป สิ่งที่สองคือ ศาสนาพุทธ สายมหายาน ได้เกิดขึ้นแล้วอย่างเต็มตัว
การสร้าง วัดถ้ำ ที่ "อชันตา" ระยะที่ ๒ เริ่มขึ้นอีกครั้งหลังจากศาสนาพุทธในอินเดียได้เข้าสู่ยุคของมหายานไปแล้วถึง ๔๐๐ ปี
ในบรรดาวัดถ้ำทั้งหมดพบว่ามีวัดถ้ำในแบบพุทธมหายานถึง ๒๔ ถ้ำ ทั้งหมดถูกสร้างขึ้นใน สมัยคุปตะ ซึ่งเป็นยุคทองของศิลปะอินเดีย
พระภิกษุฝ่ายมหายานได้เข้ามาอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก และปรับเปลี่ยนถ้ำให้เหมาะสมกับพิธีกรรมที่ทำขึ้น
จากวิหารแบบเรียบง่ายที่สร้างขึ้นในสมัยพุทธฝ่ายเถรวาท ถูกเปลี่ยนไปเป็นห้องโถงใหญ่โตโอ่อ่า สลักหินเป็นเสาสูงมากมาย
ที่หัวเสาแกะสลักเป็นลวดลายงดงามทั่วทั้งคูหาถ้ำ ผนังด้านในทั้งสองด้านแกะสลักเป็น พระพุทธรูป และ พระโพธิสัตว์ ขนาดใหญ่ ที่แสดงให้เห็นถึงฝีมือช่างประติมากรรมชั้นสูงในการแกะสลักหินออกมาได้อย่างอ่อนช้อยและสวยงาม
สำหรับถ้ำหมายเลข ๑ เป็น ถ้ำพุทธมหายาน ที่ได้รับการกล่าวขวัญไปทั่วโลกว่า มีภาพเขียนสีที่งดงามมากที่สุด แม้เวลาจะผ่านมานานถึงกว่า ๑,๕๐๐ ปี
ภาพก็ยังคงสีสันและลายเส้นที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์มากอย่างไม่น่าเชื่อ
ถ้ำอชันตา อยู่ห่างจาก เมืองออรังกาบาด ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๑๐๔ กม. อยู่ในรัฐมหาราษฎร์ ประเทศอินเดีย
#ขอบคุณรูปภาพเพจวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ถ้ำอชันตา คลิ๊กเพื่อดูภาพ หรือ กลับหน้าหลัก